วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล กรุงเทพมหานคร
ท้องสนามหลวง เดิมเรียกว่า ทุ่งพระเมรุ เนื่องจากใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2398 รัชพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกจาก ทุ่งพระเมรุ” เป็น ท้องสนามหลวง” ดังปรากฏในประกาศว่าที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนาน ๆ มีครั้งหนึ่งแลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า ทุ่งพระเมรุ’ นั้นหาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า "ท้องสนามหลวง" ’”
ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) เป็นต้นมา ได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เป็นที่ตั้งพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โปรดเกล้าฯ ให้ทำนาที่สนามหลวง เพื่อแสดงให้ปรากฏแก่นานาประเทศว่า เมืองไทยบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร มีไร่นาไปจนใกล้ ๆ พระบรมมหาราชวัง และไทยเอาใจใส่ในการสะสมเสบียงอาหารไว้เป็นกำลังของบ้านเมืองด้วย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีพืชมงคล พิธีพิรุณศาสตร์มีกำแพงแล้วล้อมรอบบริเวณ ข้างในสร้างหอพระพุทธรูปสำคัญเป็นที่ประดิษฐานพระสำหรับพิธี สำหรับการพิธีมีพลับพลาที่ทำการพระราชพิธี มีหอดักลมลงที่พลับพลาสำหรับทอดพระเนตรการทำนา ข้างพลับพลามีโรงละครสำหรับเล่นบวงสรวง ด้านเหนือมีพลับพลาน้อยสร้างบนกำแพงแก้วสำหรับประทับทอดพระเนตรการทำนาในท้องทุ่ง นอกกำแพงแก้วยังมีฉางสำหรับใส่ข้าวที่ได้จากการปลูกข้าว


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดเกล้าฯ ให้ขยายสนามหลวงจากเดิม และรื้อพลับพลาต่าง ๆ ที่สร้างในรัชกาลก่อน ๆ เพราะหมดความจำเป็นที่จะต้องทำนา และได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การฉลองพระนครครบ 100 ปี งานฉลองเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากยุโรปใน พ.ศ. 2440 ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)ทรงใช้ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ใช้เป็นสนามแข่งม้าและสนามกอล์ฟ
ในรัชกาลปัจจุบันมีการใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี พระราชพิธีกาญจนาภิเษก รวมทั้งงานพระเมรุมาศเจ้านายระดับสูง เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์


สนามหลวงโบราณสถานสำคัญของชาติ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2520 มีเนื้อที่ 74 ไร่ 63 ตารางวา

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประวัติวงโยธวาทิต




โยธวาทิต ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “วงดนตรีที่บรรเลงโดยทหาร ซึ่งมาจากคำว่า โยธ แปลว่า ทหาร รวมกับคำว่า วาทิต แปลว่า ดนตรี หรือผู้บรรเลงดนตรี” โยธวาทิต “เป็นคำศัพท์ที่บัญญัติขึ้นโดยอาจารย์มนตรี ตราโมท ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน” ส่วนในรากศัพท์ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Military Band โดยคำว่า Military นั้นหมายถึงกองทัพ ส่วนคำว่า Band มาจากคำว่า Banda (ในภาษาอิตาเลียน) ใช้เรียกวงดนตรีประเภทหนึ่ง ในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้คำว่า Marching Band ซึ่งไม่ว่ารากศัพท์จากภาษาต่างประเทศจะกล่าวอย่างไรแต่ในประเทศไทยเรียกว่าวงโยธวาทิต ที่ผสมวงโดยมีเครื่องดนตรีหลัก 3 กลุ่ม คือ 
1. กลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments
2. กลุ่มเครื่องทองเหลือง (Brass Instruments)
3. กลุ่มเครื่องกระทบ (Percussion Instruments) 
แต่เดิมนั้น คำว่า Band จะใช้เรียกวงดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะของ พระเจ้าชาร์ลที่ 2 ซึ่งในสมัยนั้นจะหมายถึงวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ ในปัจจุบันเราใช้คำว่า Band ต่อท้าย วงดนตรีที่มีลักษณะการผสมเครื่องดนตรีในรูปแบบต่างๆกัน เช่น Wind Band, Military Band, Concert Band, Symphonic Band, หรือ Jazz Band เป็นต้น ตามรากศัพท์เดิม Banda นั้น หมายถึง วงดนตรีที่ประกอบด้วย กลุ่มเครื่องทองเหลือง และเครื่องกระทบ 
วงโยธวาทิต เป็นวงดนตรีสำหรับทหาร มีจุดประสงค์ในการใช้งาน คือ การร้องเพลงซอยเท้าเข้าสู่สนามรบของทหาร บทบรรเลงส่วนใหญ่จะเป็นเพลงมาร์ช (March) หรือใช้ประกอบการสวนสนามของทหาร เพื่อปลุกใจในยามสงคราม หรือประกอบพิธีต่างๆของทหาร โดยเฉพาะ มีผู้บรรเลงจำนวนมาก มีเครื่องดนตรีจำพวกแตรทรัมเป็ต (Trumpet) เป็นเครื่องนำ “แตรทรัมเป็ต” ที่เป็นเครื่องดนตรีนำขบวนนั้นมีชื่อเรียกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนกลุ่มใดเรียก เช่นแตรงอน, Alphorn, Buisine, Lituus, Slide Trumpet หรือทรัมเป็ตที่ใช้ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เรียกว่า “แตรวิลันดา”(สุกรี เจริญสุข, 2539: 25) กล่าวถึงแตรวิลันดาว่า “ซึ่งเชื่อว่าเป็นแตรฝรั่งที่ชาวฮอลันดานำเข้ามาเป็นชาติแรกในกรุงสยามจึงเรียกว่าแตรวิลันดา คำว่าวิลันดานั้นน่าน่าจะหมายถึง ฮอลันดา” เสียงแตรที่เป่าจะเป็นสัญญาณที่ใช้ต่างกันตามโอกาสเช่น สัญญาณที่ให้ทหารบุกโจมตี สัญญาณ รวมพล สัญญาณแจ้งเหตุ หรือใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น เพลงเดิน เพลงรุก เพลงรบ เพลงถอย เป็นต้น

















วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เครื่องยืดกล้ามเนื้อน่อง


บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          ในปัจจุบันการออกกำลังกายของคนในประเทศไทยมีอัตราการออกกำลังกายลดน้อยลง การไม่ค่อยออกกำลังกายมีผลสียหลายๆอย่างตามมา เช่น กล้ามเนื่อส่วนต่างๆตึง เกิดโรคอ้วน โรคความดัน โรคหอบหืด ผู้จัดทำจึงเล็งเห็นความสำคัญของการอกกกกำลังกาย  ในโครงงานนี้ได้มุ่งเน้นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อขา ดังนั้นผู้จัดทำต้องการที่จะศึกษาวิธีการทำเครื่องมือที่ช่วยทำให้กลามเนื้อคลายตัว
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
          1.เพื่อศึกษาวิธีการทำเครื่องยืดกล้ามเนื้อน่อง
          2.เพื่อฝึกความสามารถด้านงานฝีมือ
         3.เพื่อฝึกการทำโครงงานเดี่ยว
สมมุติฐาน
          1.สามารถศึกษาวิธีการทำเครื่องยืดกล้ามเนื้อน่อง
          2.สามารถรู้ขั้นตอนการทำเครื่องยืดกล้ามเนื้อน่อง
        



ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
          1.ไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิธีการทำว่ามีขั้นตอนการผลิตเป็นอย่างไร ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2556
           2.ไปสอบถามผู้รู้ในเรื่องขั้นตอนและวิธีการทำเครื่องยืดกล้ามเนื่อน่อง ในวันที่ 1 มิถุนายน 2556





บทที่ 2
ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
             ผศ.พญ.นวพร  ชัชวาลพาณิชย์ และคณะ ได้ทำวิจัยและคิดค้น อุปกรณ์ยืดกล้ามเนื้อน่อง”  (Calf Stretching Box) ซึ่งเป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถช่วยคลายกล้ามเนื้อน่อง ลดการปวดขา ปวดน่อง ปวดข้อเท้า  ตะคริวที่น่อง อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น ใส่รองเท้าส้นสูงเดินทั้งวัน การออกกำลังกายผิดท่า เป็นต้น ท่านไม่ต้องทนอีกต่อไปแล้ว
อุปกรณ์ยืดกล้ามเนื้อน่อง ออกแบบมากะทัดรัด มีน้ำหนักเบา ผิวด้านบนหุ้มด้วยโฟมยาง ทำให้นุ่มสบายเท้า สามารถนำไปตั้งในบริเวณที่ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันบ่อยได้ เช่น ใช้เท้าเหยียบ box ขณะกำลังแปรงฟัน เป็นต้น การใช้ Calf stretching Box ทำได้ง่ายๆ เพียงพาดฝ่าเท้าลงบน box ทางด้านโค้งโดยให้ขอบของ Calf stretching Box อยู่ประมาณฝ่าเท้า เหยียดเข่าตึง แล้วโน้มตัวมาข้างหน้าจนรู้สึกตึงที่กล้ามเนื้อน่อง ทำค้างไว้ประมาณ 30 วินาที 2 นาที ขึ้นกับระดับความตึงของกล้ามเนื้อน่อง   อุปกรณ์นี้สามารถใช้ได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่ปัจจุบันผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ใช้ Calf stretching Box จะมีอายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากในคนกลุ่มนี้ เมื่อมีการออกกำลังกายหรือบริหารร่างกายด้วยตนเองในท่าทางอื่นๆ อาจทำให้มีอาการปวดเข่าหรือปวดหลัง ซึ่งการใช้ Calf stretching Box นอกจากจะช่วยยืดกล้ามเนื้อน่องแล้ว ยังจะช่วยลดอาการปวดเข่าหรือปวดหลังที่เกิดจากการบริหารร่างกายด้วยวิธีอื่นๆ
          ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล มีความประสงค์จะจัดทำและจำหน่อยอุปกรณ์ยืดกล้ามเนื้อน่อง 
(Calf Stretching Box) ให้แก่ผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้อน่องตึงนี้ไปสู่การเกิดกล้ามเนื้อน่องตึง ซึ่งปัญหากล้ามเนื้อน่องตึงนี้นำไปสู่การเกิด
กล้ามเนื้อน่องบาดเจ็บ เอ็นร้อยหวายอักเสบ และโรครองซ้ำได้ อีกทั้งผู้ป่วยโรคดังกล่าว แพทย์มีแนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังเนื้อยึดกล้ามเนื้อ
น่องเป็นประจำ เพื่อเป็นการรักษาการใช้อุปกรณ์ยึดกล้ามเนื้อน่องที่ทางคลินิกสุขภาพเท้า
 อุปกรณ์นี้สามารถเพิ่มการออกกำลังกาย 
(
compliance)  ในการยึดกล้ามเนื้อในผู้ป่วยและลดอาการแทรกซ้อนจากการยึดกล้ามเนื้อน่องแบบเดิมได้
         




บทที่ 3
วัสดุ – อุปกรณ์ในการดำเนินงาน

วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน
   วัสดุอุปกรณ์
1.สว่าน
2.ค้อน
3.เศษไม้
4.เลื่อยตัดไม้
5.ตะปู,ตะปูเกลียว
6.ไรเดอร์เจียหิน
7.ไขขวง
8.ดินสอ
9.ตลับเมตร





บทที่ 4
ผลการทดลอง
           การจัดทำโครงงานเครื่องยืดกล้ามเนื้อน่องนี้ขึ้นมาเพื่อมีวัตถุประสงค์ของโครงงาน
ดังนี้
          1.เพื่อศึกษาวิธีการทำเครื่องยืดกล้ามเนื้อน่อง
          2.เพื่อฝึกความสามารถด้านงานฝีมือ
         3.เพื่อฝึกการทำโครงงานเดี่ยว
          ตลอดจนผู้จัดทำสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาขั้นตอนการทำเครื่องยือกล้ามเนื้อน่อง เพื่อนำเสนอให้ทุกคนได้รับรู้ถึงเรื่องราวที่ผุ้จัดทำได้นำเสนข้อมูลอผ่าน Blog Sport  ไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
           ทั้งนี้   ทางผู้จัดทำหวังว่าคงจะได้รับความร่วมมืออย่างดีในการรับฟังข้อมูลจากทางอาจารย์ และ เพื่อนๆทุกคนในชั้นเรียน ทำให้การนำเสนอในครั้งได้รับความสนใจ  โดยทางเพื่อนๆทุกคนในชั้นเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้  โดยการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในโครงงานที่ทางผู้จัดทำได้นำเสนอไป





บทที่ 5
สรุปผลและอภิปรายผล

วัตถุประสงค์ของโครงงานนี้คือ
          1.เพื่อศึกษาวิธีการและขั้นตอนการทำเครื่องยืดกล้ามเนื้อน่อง
          2.เพื่อฝึกความสามารถด้านงานฝีมือ
         3.เพื่อฝึกการทำโครงงานเดี่ยว
และสามารถสรุปผลการทำโครงงานเรื่องเครื่องยืดกล้ามเนื้อน่อง ดังนี้
         1.ศึกษาวิธีการและขั้นตอนการทำเครื่องยืดกล้ามเนื้อน่องได้เป็นอย่างดี และเข้าใจถึงวิธีการทำ
         2.เพื่อฝึกความสามารถด้านงานฝีมือ และเป็นการพัฒนาฝีมือตนเองในด้านการประดิษฐ์


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานนี้
       1.ได้เครื่องยืดกล้ามเนื้อน่องมาใช้ที่บ้าน
       2.ได้ทราบถึงวิธีขั้นตอนการทำเครื่องยืดกล้ามเนื้อเป็นอย่างดี
ข้อเสนอแนะ
       1.ผู้จัดทำอาจจะต้องศึกษาวิธีขั้นตอนการทำที่แปลกใหม่พกพาสะดวก  มาศึกษาต่อเพื่อเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ
1.สว่าน
2.ค้อน
3.เศษไม้
4.เลื่อยตัดไม้
5.ตะปู,ตะปูเกลียว
6.ไรเดอร์เจียหิน
7.ไขขวง
8.ดินสอ
9.ตลับเมตร

ขั้นตอนการทำ
1.นำของที่เตรียมไว้มารวมกันแล้วเช็คความเรียบร้อย
2.
  นำไม้ขนาดเท่ากัน3 ท่อนมาวางเรียงกันให้ได้ดังรูป
3.
   นำไม้ขนาดพอดีมาติดไว้ที่ปลายทั้งสองด้านของไม้
4.
   นำบานพับติดไว้ที่ปลายด้านในของไม้ด้านใดด้านหนึ่ง
5.
   นำไม้สองท่อนขนาดไม่ใหญ่มากมาตอกเข้ากับไม้อีกอันหนึ่ง
6.
   นำไม้สองอันมาติดกันโดยใช้บานพับประตูยึดไว้
7.
   นำไม้2แผ่นนี้ไปติดกับบานพับติดไว้ที่ปลายด้านในของไม้แผ่นหนึ่ง
8.
   นำไม้มาทำเป็นที่ดันส้นไว้ที่ปลายด้านที่เป็นจุดหมุน
9.
ภาพอุปกรณ์ยืดกล้ามเนื้อน่องที่สมบูรณ์